วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

แหล่งอ้างอิง

http://www.thaileagueonline.com/catagory.php?cat_id=7 ฟุตซอล

http://www.yanchaow.com/view336.aspx   ประวัติฟุตซอล ความเป็นมาของ กีฬาฟุตซอล 

http://www.rakball.net/overview.php?c=28&id=43403  การเตะลูกเรียดด้วยหลังเท้า(Passing,Shooting)

http://www.scribd.com/doc/84774477  ทักษะการเล่นกีฬาฟุตซอล

หนังสืออ้างอิง



หนังสือคู่มือเล่มนี้นำเสนอแนวทางและวิธีการฝึกกีฬาฟุตซอลซึ่ง กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากโดยเนื้อหาในเล่มกล่าวถึงทักษะการเล่นฟุตซอลไม่ว่าจะเป็น กฏ กติกา รูปแบบการเล่น การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายของผู้เล่น

หนังสือเล่มนี้จึงเหมาะสำหรับผู้สนใจกีฬาฟุตซอล และผู้เกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้ในการพัฒนาตนเอง นักกีฬา นักศึกษา ได้ใช้เป็นคู่มือประกอบการเรียน

ชื่อหนังสือ  คู่มือกีฬาฟุตซอล

ชื่อผู้แต่ง  คณาธิป จิระสัญญาณสกุล

สัมภาษณ์

A: สวัสดีครับ ผม กอล์ฟ นัทธพงศ์ แซ่เซียว แขกรับเขิญของเราวันนี้ ธีธัช ชูชาติพงษ์ ซึ่งเขาเป็นเขาเป็นนักฟุตซอล เยาวชน

B: สวัสดีครับ

A: ผมขอเริ่มคำถามแรกกันเลยนะครับ คุณธีธัชครับ

B: ได้เลยครับ

A: อยากทราบว่า ทำไมคุณธีธัชถึงเลือกเล่นกีฬาฟุตซอลและได้แรงบันดาลใจมาจากอะไร

B: ก็คงเป็นเพราะ คุณพ่ออ่ะครับ คือคุณพ่อสนับสนุนมาตั้งแต่ยังเล็กๆให้ผมไปเรียนฟุตซอลมาตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบันครับ   มันเลยทำให้ผมชอบกีฬาฟุตซอล มากๆครับ  ส่วนในเรื่องของแรงบันดาลใจ  แรงบันดาลใจผม ก็ได้มาจาก นักฟุตบอลคนหนึ่ง ซึ่งผมชื่นชอบมาก  ชื่อว่า "สตีเฟ่น เจอร์ราด"ครับ  เขาทั้งเล่นเก่งและยังมีชื่อเสียงมากด้วยครับ

A: แบบนี้คุณธีธัช น่าจะเล่นฟุตซอลเก่งมากๆแน่เลย

B: ฮ่าๆ ก็ไม่ถึงขนาดนั้นหรอกครับ ต้องพัฒนาฝีมือดตัวเองไปเรื่อยๆครับ

A: ฮ่าๆ คนเก่งๆมักจะถ่อมตัวเป็นธรรมดา จริงๆเลยน่ะครับ  แล้วกว่าจะมาเป็นนักฟุตซอลได้ คุณธีธัช ผ่านอุปสรรคอะไรมาบ้างกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ครับ

B : กว่าผมจะมาถึงจุดนี้ได้ ก็ผ่านอะไรหลายอย่างครับ ซึ่งสิ่งที่สำคัญก็เป็นเรื่องของสภาพจิตใจอ่ะครับ ต้องมีความตั้งใจจริง และไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก โดยอุปสรรคที่ผมเจอมาหนักๆก็คงจะเป็น เรื่องของคำวิภาควิจารณ์ เวลาเราเล่นได้ไม่ดี หรือเล่นได้ไม่ตามที่โค้ชตั้งเป้าหมายไว้  ซึ่งมันทำให้นักฟุตซอลอย่างผมหรือหลายๆท่าน รู้สึกแย่มากเลยครับ  บางคนถึงกับท้อแท้แล้วเลิกเล่นไปเลย และอีกอุปสรรคที่หนักๆก็เป็นเรื่องของการซ้อม ซึ่งต้องซ้อมกันทุกวัน เป็นเวลานานมาก ถ้าขาดความอดทน ในด้านร่างกายก็คงจะไปไม่รอด ครับ

A: โอโห ใครว่าเป็นนักฟุตซอลจะสบาย ลำบากเหมือนกันน่ะครับ

B: ครับ แต่ถ้าเราตั้งใจก็จะทำสิ่งเหล่านี้ได้แน่นอนครับ

A: แล้วคุณธีธัช ตั้งเป้าหมายในการเล่นฟุตซอลไว้แค่ไหนครับ

B: เป้าหมายถึงหรอครับ ผมตั้งเป้าไว้สูงมาก เพราะมันจะเป็นแรงผลักดันให้ผม ไม่ย่อท้อและตั้งใจซ้อม โดยผมตั้งเป้าหมายไว้ คือ นักฟุตซอลระดับประเทศ ครับ  ถือเป็นความใฝ่ฝันของผมเลยก็ว่าได้ครับ  ทุกวันนี้ก็ใช้เป้าหมายนี้เป็แรงผลักดันในการซ้อมอยู่ตลอดครับ

A: ผมก็ขอเป็นกำลังใจให้คุณธีธัช ทำได้อย่างที่ตั้งใจไว้น่ะครับ และในเรื่องของการเตรียมความพร้อมของร่างกาย  คุณธีธัช เตรียมการยังไงครับ ที่จะต้องซ้อมหนักๆทุกวัน

B: ในเรื่องร่างกาย  อันดับแรกก็ ต้องจัดสรรเวลาให้ลงตัวครับ ทั้งในเรื่องการกิน  การออกกำลังกาย และการพักผ่อนอย่างเพียงพอครับ    ในเรื่องของการกินก็ต้องรับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ งดเหล้า งดบุหรี่ และทานอาหารให้ครบ5หมู่  ทั้ง3มื้อครับ   ส่วนเรื่องของการออกกำลังกาย  ผมก็จะเล่นฟิตเนตเป็นประจำทุกวันครับ วันล่ะไม่เกิน2ชั่วโมง  เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง เพื่อพร้อมต่อการฝึกซ้อมหนักๆในทุกวันครับ  และส่วนในเรื่องของการพักผ่อน  ผมก็จะนอนให้เต็มอิ่ม  อยากน้อยๆก็6-7ชั่วโมง อาจจะเกินบ้างในบางวัน  แต่ก็ไม่เกินมากครับ เพราะถ้านอนเยอะไปก็ไม่ดีและยังทำให้ขี้เกียจอีกด้วยครับ  สิ่งเหล่านี้ต้องทำเป็นกิจวัตรประจำวันเลยครับ

A: โอโห ไม่น่าล่ะครับที่เขาว่ากันว่า นักกีฬามักจะมีระเบียบวินัย  ผมเชื่อแล้วจริงๆ

B: .ใช่ครับ และระเบียบวินัยที่สำคัญที่สุดของ นักกีฬาอย่างพวกเราน่ะครับ  ก็คือการซ้อม ถ้าไม่จำเป็นอย่างขาดซ้อมเลยเด็ดขาดครับ เพราะการซ้อมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก  ยิ่งซ้อมมาก ก็จะยิ่งเก่งขึ้น และยิ่งเป็นกี่ฬาฟุตซอลที่เล่นโดยใช้คนหลายคนๆ มันจะต้องอาศัยเข้าขากันในการเล่น จึงต้องมีวินัยในการซ้อมเป็นอย่างมากครับ

A:  อ่อ แบบนี้ก็ไม่ค่อยมีเวลาว่างเลยสิครับ คุณธีธัช

B:  เวลาว่างก็มีบ้างครับ  ทางโค้ชก็จะมีหยุดให้เราพักบ้าง ในแต่ล่ะเดือน  แต่ถ้าเป็นช่วงใกล้จะลงแข่งหรือมีโปรแกรมแข่ง  ก็จะซ้อมหนักเป็นพิเศษแถบจะไปไหนไม่ได้เลยครับ


A:  และวันนี้ผมได้รู้อะไรเพิ่มขึ้นอีกเยอะเลยในเรื่องของ"ฟุตซอล" สุดท้ายนี้ผมอยากให้คุณธีธัช ฝากอะไรถึงน้องๆเยาวชนที่สนใจ อยากจะเล่นกีฬาฟุตซอลอย่างจริงจัง แบบคุณธีธัช หน่อยครับ

B:  ผมก็อยากจะขอฝากให้น้องๆที่มีความตั้งใจจริงๆและรักในกีฬานี้  ขยันฝึกซ้อมและไม่ย่อท้อต่อความยากลำบากน่ะครับ   และต้องมีวินัยในตัวเองมากๆ ครับ

A: ขอขอบคุณ คุณธีธัช มากครับ สำหรับข้อมูลและความคิดเห็นในเรื่องของฟุตซอลครับ

B: ขอบคุณครับ





กติกา ฟุตซอล

สนามแข่งขัน (THE PITCH)
ขนาดสนาม(Dimension)
   สนามแข่งขันต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวของเส้นข้างต้องยาวกว่าความยาวของเส้นประตู
ความยาว   ต่ำสุด   25   เมตร
         สูงสุด   42   เมตร
ความกว้าง   ต่ำสุด   15   เมตร
         สูงสุด   25   เมตร
การแข่งขันระหว่างชาติ (International Matches)ความยาว   ต่ำสุด   38   เมตร
         สูงสุด   42   เมตร
ความกว้าง   ต่ำสุด   18   เมตร
         สูงสุด   22   เมตร
การทำเส้นสนามแข่งขัน (Pitch Markings)
   สนามแข่งขันประกอบด้วยเส้นต่างๆเส้นเหล่านั้นเป็นพื้นที่ของเขตนั้นๆ เส้นด้านยาวสองข้างเรียกว่า เส้นข้าง (Touch Line) เส้นด้านสั้นสองเส้น เรียกว่า เส้นประตู (Goal Line) เส้นทุกเส้นต้องมีความกว้าง 8 เซนติเมตร สนามแข่งขันแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่าๆกัน โดยมีเส้นแบ่งแดน (A Halfway Line) ที่กึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน มีจุดกึ่งกลางสนาม (Center Mark) และวงกลมรัศมี 3 เมตรล้อมรอบจุดนี้ไว้

เขตโทษ (The Penalty Area)
   เขตโทษทำไว้ตรงส่วนท้ายของสนามแต่ละด้าน ดั้งนี้ ให้วัดจากด่านนอกเสาประตูทั้งสองข้างออกไปตามแนวเส้นประตูข้างละ 6 เมตร เขียนส่วนโค้งซึ้งมีรัศมี 6 เมตร เข้าไปใน พื้นที่สนามแข่งขันจนปลายของส่วนโค้งสัมผัสกับเส้นขนานที่ตั้งฉากกับเส้นประตู ระหว่างเสาประตูทั้งสองข้างมีความยาว 3.16 เมตร พื้นที่ภายในเขตเส้นเหล่านี้และเส้นประตูล้อมรอบ เรียกว่า เขตโทษ

จุดโทษ (Penalty Mark)
   จากจุดกึ่งกลางประตูแต่ละข้าง ให้วัดเป็นแนวตั้งฉากเข้าไปในสนามแข่งขันเป็นระยะทาง 6 เมตร และให้ทำจุดแสดงไว้ จุดนี้เรียกว่า จุดโทษ
จุดโทษที่สอง (Second Penalty Mark)
   จากจุดกึ่งกลางประตูแต่ละข้าง ให้วัดเป็นแนวตั้งฉากเข้าไปในสนามแข่งขันเป็นระยะทาง 10 เมตร และให้ทำจุดแสดงไว้ จุดนี้เรียกว่า จุดโทษที่สอง

เขตมุม (The Corner Area)
   จากมุมสนามแต่ละด้านให้เขียน 1 ใน 4 ของส่วนโค้งไว้ด้านในสนามแข่งขัน โดยมีรัศมี 25 เซนติเมตร

เขตเปลี่ยนตัว (Substitution Zone)
   เขตเปลี่ยนตัวอยู่บริเวณเส้นข้างของสนามแข่งขันตรงด้านหน้าของทีมที่จัดที่นั่งผู้เล่นสำรองไว้ เขตเปลี่ยนตัวมีความยาว 5 เมตร จะสังเกตได้จากบนเส้นข้างจะมีเส้นกว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 80 เซนติเมตร (วัดเข้าด้านในสนาม 40 เซนติเมตร และวัดออกจากด้านนอกสนาม 40 เซนติเมตร) ผู้เล่นจะเปลี่ยนเข้าและออกต้องอยู่ภายในเขตเปลี่ยนตัว
   ระหว่างเขตเปลี่ยนตัวทั้งสองข้างตรงเส้นแบ่งแดนและเส้นข้างจะมีช่องว่างระยะ 5 เมตร ตรงหน้าโต๊ะผู้รักษาเวลา

ประตู (Goals)
   ประตูต้องตั้งอยู่บนกึ่งกลางของเส้นประตูแต่ละด้านประกอบด้วย เสาประตูสองเสา มีระยะห่างกัน 3 เมตร และเชื่อมต่อกันด้วยคานตามแนวนอน ซึ่งส่วนล่างของคานจะอยู่สูงจากพื้น 2 เมตร
   เสาประตูและคานประตูทั้งสองด้านจะมีความกว้างและความหนา 8 เซนติเมตร อาจติดตาข่ายไว้ที่ประตูและคานประตูด้านหลัง ตาข่ายประตูต้องทำด้วยป่าน ปอ หรือ ไนล่อน จึงอนุญาตให้ใช้ได้
   เส้นประตูมีความกว้างเท่ากับเสาประตูและคานประตู ที่เสาและคานด้านหลังประตูมีลักษณะเป็นรูปโค้ง วัดจากริมด้านบนของเสาประตู ไปสู่ด้านนอกของสนามมีความลึกไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร วัดจากริมด้านล่างของเสาประตูไปด้านนอกของสนามมีความลึกไม่น้อยกว่า 100 เซนติเมตร

ความปลอดภัย (Safety)
   ประตูอาจเป็นแบบที่แยกประกอบและโยกย้ายได้ แต่จะต้องติดตั้งไว้กับพื้นสนามอย่างมั่นคงและปลอดภัย

พื้นผิวของสนามแข่งขัน (Surface of the Pitch)
   พื้นผิวสนามจะต้องเรียบ อาจทำด้วยไม้หรือวัสดุสังเคราะห์และต้องหลีกเลี่ยงพื้นผิวสนามที่ทำด้วยคอนกรีต หรือยางมะตอย
ข้อตกลง (Decisions)

1.   ในกรณีเส้นประตูยาวระหว่าง 15 – 16 เมตร รัศมีที่ใช้เขียนส่วนโค้งเขตโทษยาว 4 เมตร ในกรณีนี้จุดโทษจะไม่อยู่บนเส้นเขตโทษ แต่ยังคงเป็นระยะ 6 เมตร โดยวัดจากกึ่งกลางเสาประตูและมีระยะห่างเท่ากันทั้งสองข้าง
2.   การใช้สนามพื้นหญ้าตามธรรมชาติ สนามหญ้าเทียม หรือพื้นดิน อนุญาตให้ใช้ในการแข่งขันระดันลีก แต่ไม่อนุญาตให้ใช้ในการแข่งขันระหว่างชาติ
3.   เครื่องหมายจะถูกเขียนไว้ด้านนอกของสนามแข่งขันวัดออกมา 5 เมตร เป็นมุมฉากกับเสาประตูเพื่อทำให้แน่ใจว่าผู้เล่นอยู่ห่างจากจุดเตะจากมุม 5 เมตร ความกว้างของเครื่องหมาย 8 เซนติเมตร
4.   ทั้งสองทีมอยู่ด้านหลังเส้นข้าง ถัดจากช่องว่างด้านหน้าโต๊ะเจ้าหน้าที่




ลูกบอล (The Ball)
คุณลักษณะและหน่วยการวัด (Qualities and Measurements)    
ลูกบอลต้อง
1.   เป็นทรงกลม
2.   ทำด้วยหนัง หรือวัสดุอื่นๆที่เหมาะสม
3.   เส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 62 เซนติเมตร และไม่เกินกว่า 64 เซนติเมตร
4.   ขณะเริ่มการแข่งขันลูกบอลต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 400 กรัม และไม่มากกว่า 440 กรัม
5.   ความดันลมของลูกบอล 0.4 – 0.6 ระดับบรรยากาศ (400 – 600 กรัมต่อตารางเซนติเมตร) ที่ระดับน้ำทะเล
การเปลี่ยนลูกบอลที่ชำรุด (Replacement of a Defective Ball)
   ถ้าลูกบอลแตกหรือชำรุดในระหว่างการแข่งขันจะดำเนินการดังนี้
1.   การแข่งขันต้องหยุดลง
2.   เริ่มเล่นใหม่โดยการปล่อยลูกบอล (Dropped Ball) ณ ที่ลูกบอลตก (ชำรุด)
ถ้าลูกบอลเกิดแตกหรือชำรุดในขณะบอลอยู่นอกการเล่น ให้เริ่มเล่นใหม่โดยการเตะเริ่มเล่นการเล่นลูกจากประตู การเตะจากมุม การเตะโทษ ณ จุดโทษ หรือการเตะเข้าเล่น
การเริ่มเล่นให้เป็นไปตามกฎกติกา
ในขณะการแข่งขัน การเปลี่ยนลูกบอลจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน

ข้อตกลง (Decisions)
1.   ในการแข่งขันระหว่างชาติไม่อนุญาตให้ใช้ลูกบอลที่ทำด้วยสักหลาด
2.   การทดสอบลูกบอลเมื่อปล่อยจากความสูง 2 เมตร โดยวัดจากการกระดอนครั้งแรก ต้องกระดอนจากพื้นไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร และไม่สูงกว่า 65 เซนติเมตร
3.   ในการแข่งขัน ลูกบอลที่ใช้ต้องแสดงให้เห็นถึงความต้องการทางเทคนิคอย่างน้อยที่สุด ตามที่ระบุไว้ในกติกาข้อที่ 2 เท่านั้นจึงจะอนุญาตให้ใช้ได้
4.   ในการแข่งขันของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ และการแข่งขันภายในความรับผิดชอบของสหพันธ์ฟุตบอล ต้องมีสัญลักษณ์ 3 อย่าง ดังนี้
   ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA APPROVED)
   ได้รับการตรวจสอบจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA INSPECTED)
   ลูกบอลมาตรฐานใช้แข่งขันระหว่างชาติ (INTERNATIONAL MATCHBALL STANDARDS)
สัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ที่ลูกบอลคือ สัญลักษณ์ที่ระบุว่าลูกบอลดังกล่าวได้รับการทดสอบอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับการแข่งขันของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ และการแข่งขันภายในความรับผิดชอบดูแลของสหพันธ์ต่างๆ ลูกบอลที่ใช้ต้องแสดงถึงความต้องการทางเทคนิคอย่างน้อยที่สุดตามที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 2 เท่านั้นที่อนุญาตให้ใช้ได้ การยอมรับลูกบอลที่ใช้ดังกล่าวข้างต้น จะอยู่ภายใต้เงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งที่แสดงให้เห็นบนลูกบอลว่าเป็นไปตามความต้องการทางเทคนิค ดังกล่าว
   สมาคมฟุตบอลแห่งชาติสามารถออกกฎบังคับให้ใช้ลูกบอลที่มีสัญลักษณ์อย่างใด อย่างหนึ่งจากเงื่อนไข 3 ประการ สำหรับการแข่งขันภายในประเทศหรือในการแข่งขันอื่นๆทุกรายการ ลูกบอลจะต้องเป็นไปตามกติกาข้อ 2
   ในกรณีที่สมาคมฟุตบอลแห่งชาติ บังคับใช้ลูกบอลที่มีสัญลักษณ์ที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ(FIFA APPROVED) และได้รับการตรวจสอบจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA INSPECTED) แต่สมาคมฟุตบอลแห่งชาติสามารถอนุญาตให้ใช้ลูกบอลมาตรฐานแข่งขันระหว่างชาติ(INTERNATIONAL MATCHBALL STANDARDS) ก็ได้
ในการแข่งขันของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ และในรายการแข่งขันที่อยู่ภายในการดูแลของสมาพันธ์และสมาคมฟุตบอลแห่งชาติไม่อนุญาตให้ทำการโฆษณาสินค้าบนลูกบอล ยกเว้นสัญลักษณ์ของการแข่งขัน และผู้จัดตั้งการแข่งขัน หรือสัญลักษณ์ทางการค้าที่ได้รับอนุญาตจากกฎเกณฑ์ของการแข่งขัน และอาจจะจำกัดขนาดและจำนวนของเครื่องหมายเหล่านั้น




จำนวนผู้เล่น (THE NUMBER OF PLAYERS)
ผู้เล่น (Players)
ในการแข่งขันจะมีผู้เล่นสองทีม แต่ละทีมต้องมีผู้เล่นในสนามไม่เกิน 5 คน และต้องมีผู้เล่นคนหนึ่งเป็นผู้รักษาประตู
ขั้นตอนการเปลี่ยนตัว (Substitution Procedure)
1.   การเปลี่ยนตัวจะเปลี่ยนเมื่อใดก็ได้ในขณะแข่งขันภายใต้ระเบียบของการแข่งขันอย่างเป็นทางการที่สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติสมาพันธ์ฟุตบอล หรือสมาคมฟุตบอลแห่งชาติกำหนดไว้
2.   อนุญาตให้มีผู้เล่นสำรองไม่เกิน 7 คน
3.   การเปลี่ยนตัวผู้เล่นในระหว่างการแข่งขันไม่จำกัดจำนวนสามารถเปลี่ยนตัวได้ตลอดเวลา ผู้เล่นที่ถูกเปลี่ยนออกสามารถเปลี่ยนกลับเข้าไปเล่นได้อีก โดยการเปลี่ยนตัวกับผู้เล่นที่เล่นในสนาม
4.   การเปลี่ยนตัวออกและเข้าสามารถทำได้ตลอดเวลาในขณะลูกบอลอยู่ในการเล่น หรือลูกบอลอยู่นอกการเล่น แต่ต้องกระทำตามเงื่อนไข
   ผู้เล่นที่ออกจากสนามต้องออกในเขตเปลี่ยนตัวของตนเองเท่านั้น
   ผู้เล่นที่เปลี่ยนตัวจะต้องเปลี่ยนตัวในเขตของตนเอง แต่ต้องให้ผู้เล่นในสนามที่ถูกเปลี่ยนตัวออกได้ผ่านเส้นข้างออกจากสนามโดยสมบูรณ์ก่อน
   การเปลี่ยนตัวอยู่ในอำนาจและดุลพินิจของผู้ตัดสินเท่านั้น ว่าจะให้เข้าเล่นได้หรือไม่
   การเปลี่ยนตัวจะถือว่าสมบูรณ์เมื่อผู้ที่เปลี่ยนตัวได้เข้าสนามและถือว่าเป็นผู้เล่นทันที ส่วนผู้ที่เปลี่ยนตัวออกจะถือว่าเป็นผู้เล่นสำรอง
ผู้รักษาประตูสามารถเปลี่ยนตำแหน่งกับผู้เล่นคนอื่นได้

การกระทำผิดและการลงโทษ (Infringements/Sanction)
   ถ้าในขณะเปลี่ยนตัว ผู้เล่นสำรองได้เข้าไปในสนามก่อนที่ผู้เล่นในสนามจะออกนอกสนามโดยสมบูรณ์
1.   หยุดการเล่น
2.   ผู้เล่นที่จะออกต้องให้ออกจากสนาม
3.   ผู้เล่นสำรองที่เข้ามาต้องถูกคาดโทษด้วยใบเหลือง
4.   การเริ่มเล่นใหม่ ให้ฝ่ายตรงข้ามเตะโทษโดยอ้อม ณ จุดที่ลูกบอลอยู่ในการเล่นได้หยุดลง อย่างไรก็ตาม ถ้าลูกบอลอยู่ในเขตโทษ การเตะโทษโดยอ้อมจะกระทำจากเส้นเขตโทษที่จุดใกล้ตำแหน่งของลูกบอลมากที่สุด ในขณะที่การเล่นได้หยุดลง
ถ้าในระหว่างการเปลี่ยนตัว ผู้เล่นสำรองที่เปลี่ยนออกได้เปลี่ยนตัวออกนอกเขตเปลี่ยนตัว
1.   หยุดการเล่น
2.   ผู้เล่นที่กระทำผิดต้องถูกคาดโทษด้วยใบเหลือง
3.   การเริ่มเล่นใหม่ ให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อม ณ จุดที่ลูกบอลอยู่ในการเล่นได้หยุดลง อย่างไรก็ตาม ถ้าลูกบอลอยู่ในเขตโทษ การเตะโทษโดยอ้อมจะกระทำจากเส้นเขตโทษที่จุดใกล้ตำแหน่งของลูกบอลมากที่สุด ในขณะที่การเล่นได้หยุดลง
ข้อตกลง (Decisions)
1.   การเริ่มเล่นแต่ละทีมต้องมีผู้เล่น 5 คน
2.   ถ้าในกรณีผู้เล่นทีมหนึ่งถูกไล่ออกจากการแข่งขัน และเหลือผู้เล่นน้อยกว่า 3 คน(รวมผู้รักษาประตู)การแข่งขันต้องถูกยกเลิก